วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดาวเคราะห์สีน้ำเงิน

โลก (The Earth)



 โลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย    โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม ในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมด ในระบบสุริยะ และ โลกยังเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะอีกด้วย มีพื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยน้ำถึง กว่า 70% จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์แห่งพื้นน้ำ 
                โลก มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา 


โครงสร้างของโลก


ชั้นโลก แบ่งออกเป็นได้ดังนี้
1.  ธรณีภาค   ลึกประมาณ0-100 กิโลเมตร   มีสมบัติเป็นของแข็ง  คลื่นpและคลื่นSผ่านไปด้วยกัน
2.   ฐานธรณีภาค  แบ่งออกเป็น2บริเวณ ในชั้นนี้คลื่นไหวสะท้อนมีความเร็วไม่สม่ำเสมอ
       2.1  เขตคลื่นไหวสะท้อนมีความเร็วลดลง  มีความลึก  100-400  กิโลเมตร  มีสมบัติเป็นพลาสติก
       2.2  เขตการเปลี่ยนแปลง   มีความลึกประมาณ  400-600 กิโลเมตร  จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแร่ มีสมบัติเป็นของแข็ง
3.  มีโซสเฟียร์   มีความลึกประมาณ  400-600กิโลเมตร  ในบริเวณนี้คลื่นไหวสะท้อนมีความเร็วขึ้นสม่ำเสมอ  เนื่องจากหิน  หรือ สาร   บริเวณล่างมีโซสเฟียร์  มีสถานะเป็นของแข็ง
4.   แก่นโลกชั้นนอก  มีความหนาตั้งแต่  2900-5100  กิโลเมตร  เชื่อกันว่าชั้นนี้ประกอบด้วยโลหะเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่   โดยมีสถานะเป็นของเหลวหนืด   และมีอุณภมิสูงมาก  มีอุณหภูมิประมาณ  4300-6200  องศาเซลเซียส  คลื่นP  ผ่านได้  แต่คลื่นS  ไม่สามรถผ่านได้  เพราะแกนโลกชั้นนอกประกอบด้วยสารที่มีของเหลว
5.  แก่นโลกชั้นใน  ส่วนแก่นโลกชั้นในเหมือนกับแก่นโลกชั้นนอกแต่อยู่ในสถานะของแข็ง  เนื่องจากมีความดันและอุณหภูมิสูงมาก   โดยอาจสูงถึง  6200-6400  องศาเซลเซียส  คลื่นP และคลื่นS  มีอัตราค่อนข้างคงที่   มีสถานะเป็นของแข็งที่มีเนื้อเดียวกัน

เปลือกโลก (  crust  )
เป็นชั้นนอกสุดของโครงสร้างของโลก   มีความหนาระหว่าง  6-35  กิโลเมตร   แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.  เปลือกโลกภาคพื้นทวีป  (  continental   crust )   มักมีความหนามาก   มีความหนาแน่นต่ำ 
2.  เปลือกโลคภาคพื้นสมุทร  (  Oceanic  crust )  มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป  มีความหนาแน่นมากกว่า
เนื้อโลก  ( mantle )
            เป็นโครงสร้างของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก   นอกจากนี้เรายังสามารถพบชั้นหินในลักษณะเดียวกับชั้นเนื้อโลกหรือแมนเทิลนี้   ได้ในดาวเคราะห์หินทั่วไป    สำหรับชั้นแมนเทิลของดาวเคราะห็โลกมีความหนาแนนประมาณ  2885  กิโลเมตร  ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบร้อยละ  84   ของปริมาณทั้งหมดของโลก
แก่นโลก   (core  )  
            เป็นชั้นในสุด   ตั้งแต่ความลึกที่   2900  กิโลเมตร  ถึงจุดศูนย์กลางโลกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ  แก่นโลกชั้นนอก  (  outer  core  )   มีความหนา  2200  กิโลเมตร  เป็นของเหลวพวกโลหะหลอมละลายประเภทเหล็กและนิเกิล   และแก่นโลก



ข้อมูลอื่นๆ
1.   โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา  365  1/4  วัน
2.    การโครจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกในลักษณะที่แก่นเอียง   ทำให้เกิดฤดูต่างๆขึ้นบนโลก
3.    ระยะทางจาก โลก ถึง ดวงอาทิตย์ นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 150 ล้านกิโลเมตร       หรือ 92,600,000 ไมล์
4.   ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกจัดเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะ
5.   ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน
6.   ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร